การจัดการองค์ความรู้ ของในหลวงในความคิดข้าพเจ้า
เริ่มต้งแต่ที่ข้าพเจ้าได้เกิดขึ้นมากก็ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ยินเรื่องราวของในหลวงมามากมายมีมากมายเกี่ยวกับด้านการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าพัฒนาให้ประชาชนได้รับความอยู่ดีกินดีทุกหนทุกแห่งทั่วทั้งประเทศ มาดูกันว่าในแต่ล่ะด้านที่ ในหลวง ได้มีการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการจัดการ
การพัฒนาด้านชนบท
ในหลวงได้มีการพัฒนาชนบทให้ก้าวหน้าเพราะทรงทราบดีว่ามีข้อจำกัดและมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ มาก ทั้งด้านเศษฐกิจกิจและสังคม ด้านการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของราษฎรในท้องถิ่น ที่สำคัญคือชาวชนบทขาดความรู้ความสามารถ และสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เกษตรกรขาดความรู้ ในเรื่องการประกอบอาชีพเกษตรกรรม อย่างมีหลักวิชา รวมทั้งอุปสรรคปัญหาอื่น ๆ เช่นขาดที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ขาดแคลนแหล่งน้ำที่จะใช้ทำการเกษตรและใช้อุปโภคบริโภคเป็นต้น แต่ด้วยพระราชหฤทัยที่มุ่งมั่นในการช่วยเหลือราษฎรให้พ้นหรือบรรเทาจากความเดือดร้อน ในเวลาเดียวกันก็ทรงส่งเสริมให้ชาวชนบทได้มีความรู้ในเรื่องของการประกอบ อาชีพอย่างถูกวิธี โดยเผยแพร่ความรู้นั้นแก่ชาวชนบทอย่างค่อยเป็นค่อยไปในลักษณะที่เป็นระบบ อย่างต่อเนื่อง และให้สอดคล้องแก่ความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งเรื่องการพัฒนาชนบทนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือหลายชนิด การที่จะเริ่มโครงการพัฒนาใด ๆ นั้นจะต้องเริ่มจากการปรับปรุง และการก่อสร้างถนนหนทางเป็นการเปิดประตูนำความเจริญเข้าไปสู่พื้นที่
ด้านการเกษตรและชลประทาน
การค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชใหม่ ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช และพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งแต่ละโครงการจะเน้นให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีราคาถูก ใช้เทคโนโลยีง่าย ไม่สลับซับซ้อน เกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ นอกจากนี้ ยังทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรยึดติดกับพืชผลทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว เพราะอาจเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ หรือความแปรปรวนทางการตลาด แต่เกษตรกรควรจะมีรายได้จากด้านอื่นนอกเหนือไปจากการเกษตรเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้
การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะเกษตรกรจะสามารถทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ และไม่เพียงพอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่นอีกครับ
ด้านการแพทย์
ล้วนแต่เป็นโครงการด้านสาธารณสุข เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า หากประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีไปด้วย พระองค์จึงทรงให้ความสำคัญกับงานด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรตามท้องที่ต่าง ๆ ทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ และล้วนเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครบครัน พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลราษฎรผู้ป่วยไข้ได้ทันที
โครงการทันตกรรมพระราชทาน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ให้ทันตแพทย์อาสาสมัคร ได้เดินทางออกไปช่วยเหลือบำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟัน แก่เด็กนักเรียนและราษฎรที่อาศัยอยู่ในท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากแพทย์ทั่วทุกภาค โดยให้การบริการรักษาโรคฟัน โดยไม่คิดมูลค่า ทางด้านหน่วยแพทย์หลวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ประทับแรมทุกแห่งนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้มาขอรับการรักษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทาง ไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย
ด้านการศึกษา
เพื่อสนับสนุนทางด้านคัดเลือกบัณฑิตในสาขาวิชาต่าง ๆ ไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อจะได้ให้บัณฑิตเหล่านั้นนำความรู้ที่ได้ไปศึกษาวิจัยนำผลงานที่ได้กลับมาพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยพระองค์ออกทุนให้ตลอดจนดูแลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในต่างประเทศนั้น ๆ อีกด้วย
ในหลวงได้มีการจัดสรรค์ออกมาเป็นหลายด้านโดยในแต่ล่ะด้านนั่นล้วนแล้วแต่มีผลดีต่อประชากรซึ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่ได้ช่วยเหือประชาชนให้มีความอยู่ดีกินดีถ้วนหน้า การศึกษาก้าวไกล้
ขอบคุณเนื้อหาภาพบางส่วนจาก วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ้างอิง
- ธนากิต, พระราชประวัติ 9 รัชกาลและพระบรมราชินี, สุวีริยาสาส์น, 2542, หน้า 383-427.
- วิเชียร เกษประทุม, ราชาศัพท์และพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ พร้อมพระราชวงศ์ โดยสังเขป, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา, 2546, หน้า 147-157.
- พระเจ้าอยู่หัว, กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2530.